วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน


          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี  12  ธันวาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2


*สัปดาห์นี้ดิฉันหยุดเรียนเนื่องจากต้องกลับไปทำธุระส่วนตัวที่บ้านจึงได้ศึกษาจาก         นางสาววรรวิภา  โพธิ์งาม ถึงเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ ว่าอาจารย์สอนอะไรไปบ้าง ดังนี้


วันนี้อาจารย์สอนในสาระที่ 2-5 และสรุปเพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยจะมีการยกตัวอย่างพร้อมกิจกรรมที่ทำในห้องเรียน ซึ่งจะทำร่วมกัน หัวข้อที่นำก่อนเข้าสู๋การเรนียนการสอนคือ 
นาฬิกาสัมพันธ์กับชีวิต...
  • เด็กจะเรียนรู้เริ่มดูเข็มนาฬิกา มีให้เขียนเวลา ที่จริงแล้วเด็กจะยังไม่รู้เรื่อง แต่เราจะให้ประสบการณ์ ให้เด็กได้คุ้นเคยและรู้จักเชื่อมโยง และเพื่อให้เด็กได้รู้ว่านาฬิกาเป็นเครื่องบอกเวลานะ เป็นต้น
  • แบบรูปคืออะไร เช่น ตัวเลขของนาฬิกา 1-12 นั่นเอง
  • นาฬิกาเป็นเครื่องมือเรียนรู้จำนวนนับ ทรี่เพิ่มทีละหนึ่ง สัญลักษณ์ตัวเลขที่แทนเวลา ความแตกต่างเข็มสั้นเข็มยาว
  • คำศัพท์ทางคณิตศาตร์ เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน (นาฬิกา)


การเรียนรู้ร่วมกับปฏิทิน
  • ใช้ปฏิทินเป็นการเพิ่ม ลด 
  • คำศัพท์เช่น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นต้น
  • ให้เด็กขีดเส้นเฉียง /    ลงในวันแรกของเดือนนั้นๆ ยกตัวอย่างเป็นเดือนมกราคม
  • ให้เด็กๆวาดรูปสามเหลี่ยม ในวันขึ้นปีใหม่ เด็กจะได้รู้วันสำคัญของเดือนนั้นไปด้วย
  • ให้เด็กๆวาดรูปเด็ก ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันเด็ก
  • ให้เด็กวาดรูปหนังสือ ซึ่งเป็นวันครู
  • ให้เด็กๆ เขียนชื่อเพื่อนพร้อมรูปเค้ก ในวันคล้ายวันเกิด
นี่คือลักษณะการจัดกิจกรรมในการบูรณาการ ความสัมพันธ์ทั้งหลายซึ่งสามารถจัดได้หลายสาระ

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  มี 5 สาระ (ต่อจากครั้งที่แล้ว)
                     สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงรวบรวมสาระทางคณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย 

      สาระที่ 2 การวัด
  • การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
  • การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
  • ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับความยาว ความสูง อาจเรียงจกน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยก็ได้
  • การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • หนักกว่า เบากว่า หนักเทากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
  • ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
  • ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บองค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
  • บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
  • เวลาแต่ละวันแบ่งเป็นสองช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
  • เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
  • หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน เรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และ วันเสาร์
       สาระที่ 3 เราขาคณิต
  • ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
  • การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
      สาระที่ 4 พีชคณิต
  • แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเราขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
  • แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนสิ่งของต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้


และจะมีการทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ 
              การนำคณิตศาตร์ในเรื่องของรูปทรงต่างๆมาเข้าร่วมหรือนำมาประยุกต์กับกิจกรรมศิลปะ ...... :ซึ่งเราสามารถนำไปบูรณาการกับเด็กๆได้ 
  • ในภาพจะมีอุปกรณก็คือ ดินน้ำมัน และ ไม้เสียบลูกชิ้น
  • ในรูปภาพจะมีรูปทรงสามเหลี่ยมเรขาคณิต  รูปสามเหลี่ยมที่มีมิติ รูปสี่เหลี่ยมที่มีมิติ และห้าเหลี่ยมที่มีมิติ ที่มีมิติเรียกอีกอย่างว่า  พีระมิด

      จากกิจกรรมนี้ได้ใช้ทักษะและความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ร่วมกับคณิตศาตร์และศิลปะ ทำให้เกิดจินตนาการในการจะสร้างชิ้นงานขึ้นมา และสามารถไปใช้กับเด็กได้เพราะไม่ยากจนเกินไป

ก่อนจะจบคาบเรียนอาจารย์ฝากเพลงส่งท้ายให้ด้วย ดังนี้

                        เพลงขวดห้าใบ
      ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง   เว้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม ให้เขาได้ตอบ
[ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ]
ขวดหนึ่งใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง  จะทำอย่างไรกันดี

                       เพลงนกกระจิบ
       นั่นนกบินมาลิบลิบ          นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา              6 7 8 9 10 ตัว

                       เพลงซ้าย-ขวา
       ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                   หันตัวไปทางนั้นแหละ

                    เพลง บวก - ลบ
       บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ        ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ         ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

                    เพลง แม่ไก้ออกไข่
       แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
ร้องเรื่อยๆจนกระทั่งถึง สิบ )

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทิน


          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี  5  ธันวาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2



*สัปดาห์นี้หยุดเรียนเนื่องจากเป็นวันพ่อแห่งชาติ