บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 มกราคม พ.ศ.2557
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 2 มกราคม พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2
ก่อนจะเรียนอาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนครั้งที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องทางคณิตศาสตร์ เช่น ความสูง การวัด น้ำหนัก ปริมาณ การหาค่า เป็นต้น
หลักการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่ง่าย คือ การเล่น การลงมือปฏิบัติจริง
ศิลปะของเด็กปฐมวัย
- กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก กิจกรรมกลางแจ้งที่ครูสอนควรจัดให้เด็กให้เล่น ฯลฯ
- กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง
- กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยแสดงออกทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่นการเขียนภาพ การปั้น การฉีกปะ การตัดกระดาษ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นๆ ที่ให้เด็กในการเกิดความคิดสร้างสรรค์ และเหมาะสมกับพัฒนาการ เช่นการวาดภาพต่อเติม การเล่นพลาสติกสร้างสรรค์ การสร้างรูปโดยการปั้น ฯลฯ
- กิจกรรมเล่นเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็ก เล่นอย่างอิสระตามมุมการเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ภายในห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมธรรมชาติ มุมเครื่องเล่นสัมผัส เป็นต้น มุมต่าง ๆ เหล่านี้เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างอิสระตามความสนใจและความต้องการของ เด็ก ซึ่งในการเล่นตามุมนี้ เด็กอาจจะเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มย่อยก็ได้
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ และจัดเพื่อมุ่งที่จะฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง ศึกษานอกสถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ฯลฯ
- เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี ช่วยให้มองเห็นได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่
พัฒนาการของเด็กมี 4 ด้าน
1 ด้านสติปัญญา การคิด / ภาษา
2 ด้านอารมณ์ การแสดงออกทางความรู้สึก / คุณธรรม
3 ด้านสังคม การอยู่ร่วมกัน
4 ด้านจิตใจ การเจริญเติบโต/ การเคลื่อนไหว
เรขาคณิต
สามารถให้เด็กทำเป็ฯรูปทรงต่างๆ เช่นจับมือเป็นวงกลม
พีชคณิต
มีแพ็ตเทิร์น มีแบบรูป
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
กระบวนการ
- การแก้ปัญหา เช่น ยืบนกระดาษ
- การใช้เหตุผล
การเล่นเสรี
การเล่นกลางแจ้ง
เกงกลางแจ่งมีอยู่ 3 อย่าง
- เกมเบ็ดเตล็ด ไม่มีกติกามากมาย เช่น ไล่จับ
- เกมแบบผลัด มีกติกาที่คงที่ มีการแสดงออกว่าชนะ
- เกมที่ใช้ทักษะกีฬา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น