วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน


          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี  12  ธันวาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2


*สัปดาห์นี้ดิฉันหยุดเรียนเนื่องจากต้องกลับไปทำธุระส่วนตัวที่บ้านจึงได้ศึกษาจาก         นางสาววรรวิภา  โพธิ์งาม ถึงเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ ว่าอาจารย์สอนอะไรไปบ้าง ดังนี้


วันนี้อาจารย์สอนในสาระที่ 2-5 และสรุปเพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยจะมีการยกตัวอย่างพร้อมกิจกรรมที่ทำในห้องเรียน ซึ่งจะทำร่วมกัน หัวข้อที่นำก่อนเข้าสู๋การเรนียนการสอนคือ 
นาฬิกาสัมพันธ์กับชีวิต...
  • เด็กจะเรียนรู้เริ่มดูเข็มนาฬิกา มีให้เขียนเวลา ที่จริงแล้วเด็กจะยังไม่รู้เรื่อง แต่เราจะให้ประสบการณ์ ให้เด็กได้คุ้นเคยและรู้จักเชื่อมโยง และเพื่อให้เด็กได้รู้ว่านาฬิกาเป็นเครื่องบอกเวลานะ เป็นต้น
  • แบบรูปคืออะไร เช่น ตัวเลขของนาฬิกา 1-12 นั่นเอง
  • นาฬิกาเป็นเครื่องมือเรียนรู้จำนวนนับ ทรี่เพิ่มทีละหนึ่ง สัญลักษณ์ตัวเลขที่แทนเวลา ความแตกต่างเข็มสั้นเข็มยาว
  • คำศัพท์ทางคณิตศาตร์ เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน (นาฬิกา)


การเรียนรู้ร่วมกับปฏิทิน
  • ใช้ปฏิทินเป็นการเพิ่ม ลด 
  • คำศัพท์เช่น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นต้น
  • ให้เด็กขีดเส้นเฉียง /    ลงในวันแรกของเดือนนั้นๆ ยกตัวอย่างเป็นเดือนมกราคม
  • ให้เด็กๆวาดรูปสามเหลี่ยม ในวันขึ้นปีใหม่ เด็กจะได้รู้วันสำคัญของเดือนนั้นไปด้วย
  • ให้เด็กๆวาดรูปเด็ก ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ซึ่งเป็นวันเด็ก
  • ให้เด็กวาดรูปหนังสือ ซึ่งเป็นวันครู
  • ให้เด็กๆ เขียนชื่อเพื่อนพร้อมรูปเค้ก ในวันคล้ายวันเกิด
นี่คือลักษณะการจัดกิจกรรมในการบูรณาการ ความสัมพันธ์ทั้งหลายซึ่งสามารถจัดได้หลายสาระ

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  มี 5 สาระ (ต่อจากครั้งที่แล้ว)
                     สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงรวบรวมสาระทางคณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย 

      สาระที่ 2 การวัด
  • การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
  • การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
  • ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับความยาว ความสูง อาจเรียงจกน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยก็ได้
  • การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • หนักกว่า เบากว่า หนักเทากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
  • ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
  • การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อยก็ได้
  • เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
  • ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
  • ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บองค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
  • บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
  • เวลาแต่ละวันแบ่งเป็นสองช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
  • เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
  • หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ดวัน เรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และ วันเสาร์
       สาระที่ 3 เราขาคณิต
  • ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
  • การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
      สาระที่ 4 พีชคณิต
  • แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเราขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
  • แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนสิ่งของต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้


และจะมีการทำกิจกรรมในห้องเรียน คือ 
              การนำคณิตศาตร์ในเรื่องของรูปทรงต่างๆมาเข้าร่วมหรือนำมาประยุกต์กับกิจกรรมศิลปะ ...... :ซึ่งเราสามารถนำไปบูรณาการกับเด็กๆได้ 
  • ในภาพจะมีอุปกรณก็คือ ดินน้ำมัน และ ไม้เสียบลูกชิ้น
  • ในรูปภาพจะมีรูปทรงสามเหลี่ยมเรขาคณิต  รูปสามเหลี่ยมที่มีมิติ รูปสี่เหลี่ยมที่มีมิติ และห้าเหลี่ยมที่มีมิติ ที่มีมิติเรียกอีกอย่างว่า  พีระมิด

      จากกิจกรรมนี้ได้ใช้ทักษะและความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ร่วมกับคณิตศาตร์และศิลปะ ทำให้เกิดจินตนาการในการจะสร้างชิ้นงานขึ้นมา และสามารถไปใช้กับเด็กได้เพราะไม่ยากจนเกินไป

ก่อนจะจบคาบเรียนอาจารย์ฝากเพลงส่งท้ายให้ด้วย ดังนี้

                        เพลงขวดห้าใบ
      ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง   เว้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม ให้เขาได้ตอบ
[ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ]
ขวดหนึ่งใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)    เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง  จะทำอย่างไรกันดี

                       เพลงนกกระจิบ
       นั่นนกบินมาลิบลิบ          นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา              6 7 8 9 10 ตัว

                       เพลงซ้าย-ขวา
       ยืนให้ตัวตรง               ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน                   หันตัวไปทางนั้นแหละ

                    เพลง บวก - ลบ
       บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ        ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ         ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

                    เพลง แม่ไก้ออกไข่
       แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
ร้องเรื่อยๆจนกระทั่งถึง สิบ )

สัปดาห์ที่ 5

บันทึกอนุทิน


          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี  5  ธันวาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2



*สัปดาห์นี้หยุดเรียนเนื่องจากเป็นวันพ่อแห่งชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

บันทึกอนุทิน


          วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี  28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2



    วันนี้อาจารย์ได้สอน เรื่อง สาระทางคณิตศาสตร์ โดยมีกิจกรรมดังนี้

            1.  -  อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น แล้วบอกให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์มีเท้า มาคนละ 1 รูป เพื่อนในห้องก็ได้วาดมาหลากหลายรูป เช่น กระต่าย  ปู  ไก่  เต่า ฯลฯ  แล้วอาจารย์ก็บอกให้คิดสิ่งที่จะเอามาจับคู่กัน จากตัวสัตว์ ก็จะมี จับคู่รอยเท้า  จับคู่ปีก ฯลฯ ต่อมาอาจารย์ก็ได้บอกให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่เราวาดดังรูป...
* รูปที่ดิฉันได้เลือกวาดคือ  เป็ด  เพราะเป็นรูปที่วาดง่าย และไม่มีลายละเอียดมาก

 
สรุปความรู้ที่ได้จากเรื่องนี้ >> ได้รู้ว่าการหาคู่จากภาพสัตว์นำไปสู่เรื่องการจับกลุ่ม 

               2.  - สไลด์เกี่ยวกับเนื้อหาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

  

อาจารย์ได้พูดอธิบาย สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ
                            
             สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 

             สาระที่ 2 การวัด
    
             สาระที่ 3 เรขาคณิต

* แต่วันนี้อาจารย์ได้อธิบายใน สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

      อาจารย์ได้เรียกให้นักศึกษา 2 คนออกไปหน้าชั้นเรียน 1 ในนั้นคือดิฉัน ให้นำรูปสัตว์ที่วาดออกไปหน้าห้องมี 2 รูปดังนี้



แล้วอาจารย์ก็ได้ทำถึงวิธีการที่จะนำไปสอนเด็กดังรูป


 สามารถสอนการจับ,การบวก-ลบเลข,การเปรียบเทียบ

สรุปความรู้ที่ได้จากเรื่องนี้ >> เวลาจะนำไปสอนจะต้องให้สอดคล้องกับวิธีการ  และได้รู้ว่า ตัวเลขนั้นเป็นสัญลักษณ์ทางภาษา

             3. - อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน  แล้วอาจารย์แจกกระดาษมาคู่ละ 1 แผ่น ให้คิดกิจกรรมจำนวนและการดำเนินงาน  และให้ออกไปนำเสนอ

     กลุ่มดิฉันได้คิดและนำเสนอกิจกรรมดังนี้



อาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆ กับกลุ่มเพื่อนๆและกลุ่มดิฉัน 

     
                  4.   - กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้คือ ร้องเพลง


                                                      เพลง  เข้าแถว 

                            เข้าแถว เข้าแถว             อย่าล้ำแนว ยืนเรียงกัน      
                      อย่า มัวแชเชือน             เดินตาม เพื่อนให้ทัน  
                      ระวัง เดินชนกัน              เข้าแถวกัน ว่องไว


                                          เพลง  จัดแถว
                       สองมือเราชูตรง               แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                       ต่อไปย้ายมาข้างหน้า        แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


                                          เพลง  ซ้าย - ขวา

                         ยืนให้ตัวตรง                   ก้มหัวลงตบมือแผละ
                         แขน(ซ้าย/ขวา)อยู่ไหน        หันตัวไปทางนั้นแหละ

                                         
                                          เพลง  พาเหรดตัวเลข
                          ( คำร้อง/ทำนอง ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ,ดร.แพง ชิณวงศ์ )

                                    มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
                                  1 2 3 4 5 6 7 8 9 แล้วก็ 10
                                  ซ้ายขวาซ้าย   ซ้ายขวาซ้าย  ชูมือขึ้นข้างบน
                                  หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
                                  มาพวกเราเดินเรียงแถว  พร้อมกัน (ซ้ำ 2 รอบ )


   การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปเป็นตัวอย่างหรือแนวการสอนให้เด็กได้เมื่อเราออกไปทำงาน
  • สมารถนำเนื้อหาที่อาจารย์ให้ไว้ไปประยุกต์ใช้ได้
ประเมินตนเอง
    ฟังอจารย์พูด ตอบคำถามอาจารย์ แสดงความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
     ช่วยกันแสดงความคิดเห็น  ช่วยกันตอบคำถามทำงานร่วมกลุ่มกันได้ดี
ประเมินอาจารย์
     อาจารย์คอยแนะนำ วิธีการสอน เทคนิคที่จะสอนมาคอยบอก คอยเสนอ คอยตั้งคำถามให้



           
บทความ







สรุป   

      การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556













สรุป
 
    เรื่องพัฒนาการทางคณิตศาสตร์

จากที่ได้รับชมวิดีโอ ในห้องเรียนห้องเดียวกันจะมีทั้งเด็กเตรียมอนุบาลและเด็กชั้นอนุบาล  ครูได้แบ่งห้องเรียนเป็น 2 ส่วนหลักๆ  คือ  พื้นที่ห้ามใช้เสียงกับกระดานอัจฉริยะ  และ พื้นที่กิจกรรม  ครูได้พาเด็กๆออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะ เมื่อออกไปเด็กๆจะเลือกเล่นกิจกรรมอย่างอิสระ การเรียนคณิตศาตร์กลางแจ้ง ก็จะมีกิจกรรม เช่น  มีเป้ายิง  ในเป้านั้นจะมีเลข  5, 10,  25, 50    เพื่อให้เด็กเล็งที่เลขใดเลขหนึ่ง แล้วปาถุงถั่วไปที่เลขนั้น  เป็นเกมที่ฝึกการบวกเลข   การเรียนคณิตศาสตร์ในห้องเรียนก็จะมีกิจกรรมที่ต่างออกไป  เช่น  มีตุ๊กตาหมี มีสีน้ำเงิน แดง เหลือง  จากนั้นให้เด็กๆเอาตุ๊กตามาใส่ในถาดของตนเอง ถาดนั้นได้เป็นสีตามตัวหมีที่เด็กๆจะหยิบมาใส่

     การสอนตัวเลขนั้นไม่จำเป็นต้องใช้แค่ปากกากับกระดาษ แต่อาจจะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสและทักษะการแก้ปัญหา  การเรียนรู้รูปแบบใหม่ การเรียนรู้โดยการลงมือทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2


การเรียนการสอนในวันนี้                             

                               
              1   เรื่องเค้ก        

     
อาจารย์เข้ามาได้พูดถึงเรื่องเค้กว่า ทำไงถึงให้มันเป็นเรื่องของคณิตศาสตร์ 
   - การแบ่ง       
   - เทียน
    -รูปทรง 
    -ราคา(จำนวน) 
    -ขนาด    สี  ส่วนผสม
    - วัน เดือน ปี


         การทำหนังสือเล่มเล็ก



 ในการที่เราทำสมุดเล่มเล็กที่เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ ทำให้รู้ว่าในการที่เราอยากให้เด็กมีส่วนร่วมเราก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของเด็กทุกคน เราไม่ควรไปดูถูกความคิดของเด็ก เพราะหากเราไปบันถอน เด็กคนนั้นก็จะไม่กล้าพูด  กล้าตอบและเด็กจะไม่เกิดองค์ความรู้    
 สาระทางคณิตศาสตร์


   เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
                                                                                                      
เพลงสวัสดียามเช้า : ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                    กินอาหารของดีมีทั่ว       หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
                    สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ        ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
                    หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลาหลั่นล้า



เพลงสวัสดีคุณครู : สวัสดีคุณครูที่รัก  หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
                   ยามเช้าเรามาโรงเรียน หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย


เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน : หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
                           หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

แต่งเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ :
   โน้นนกบินมาลิ๊บๆ
                                                                              นกกระจิบ 1 2 3 4 5
                                                                  อีกฝูงบินล่องลอยมา6 7 8 9 10 ตัว


       4. เกณฑ์การแบ่ง



    อาจารย์แจกกระเป๋าคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนเวลาที่มาถึงมหาวิทยาลัยว่าตัวเองมาถึงกี่โมง
แล้วอาจารย์ให้ทุกคนออกไปหน้าห้องเรียนแล้วให้คนที่มา 8.00 . ยืนตรงกลาง ให้คนที่มาก่อนแปดโมงยืนทางขวามือ คนที่มาหลังยืนทางซ้ายมือ เพื่อแบ่งเป็นเกณฑ์ โดยให้คนที่มา 8.00 โมงเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง

          แบ่งกลุ่มกำหนดเกณฑ์
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วให้นำสิ่งของที่มีอยู่ที่ตนเองออกมาคนละ 1 ชิ้นอะไรก็ได้ กลุ่มดิฉันมี แม็ก คัดเตอร์ กระเป๋าดินสอ ไม้บรรทัด และหวี โดนแบ่งเป็น 2 เกณฑ์ ดังนี้
เกณฑ์ที่ 1  ของมีคมและของไม่มีคม
ของมีคม = คัดเตอร์   แม็ก
ของไม่มีคม = กระเป๋าดินสอ  ไม้บรรทัด  หวี
เกณฑ์ที่ 2 ความสูง 10 เซนติเมตร
ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร = แม็ก
สูง 10 เซนติเมตร = หวี  คัดเตอร์
สูงเกิน 10 เซนติเมตร =  ไม้บรรทัด  กระเป๋าดินสอ
   ทำให้เด็กมีประสบการณ์และได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้รู้จักรูปทรงของสิ่งของ ขนาด ราคา การแบ่งแยกของแต่ละชนิด




      ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนวันนี้

 -ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-การนับ สามารถนับทุกอย่างให้รู้ค่าและจำนวน
ตัวเลข  ควรเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม
-จับคู่ ทำให้เด็กได้สังเกตคู่เหมือน ประเภทเดียวกัน
การจัดประเภท ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆ ว่าสิ่งของมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เปรียบเทียบ ต้องสืบเสาะหาความสัมพันธ์ของสิ่งของทั้งสองสิ่ง
การจัดลำดับ จัดสิ่งของชุดหนึ่งตามกฎ เช่น ต่ำไปหาสูงรูปทรงและเนื้อที่ จัดให้เด็กเรียนรูปกับรูปทรง เช่น วงกลม สามเหลี่ยม
การวัด ให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง รู้จักความยาวและระยะทาง ก่อนที่จะวัดควรให้เด็กฝึกฝนการเปรียบเทียบ และจัดลำดับก่อน



วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 104 (วันพฤหัสบดี ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 235 อาคาร 2


สัปดาห์นี้ดิฉันได้ขาดเรียน เนื่องจากแม่ประสบอุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาล *

ดิฉันจึงได้ติดตามการเรียนการสอนของอาจารย์ผ่านทางบล็อกของเพื่อนในเซ็ต
              อาจารย์ได้สอนเรื่องดังนี้

         ความหมายของคณิตศาสตร์ 

คณิต หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ  ส่วนคำว่า  คณิตศาสตร์  หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณหรือตำราเด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เรื่องจำนวนและตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย              
       ความสำคัญของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการนำวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
       แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                        1.ศึกษาและทำความเข้าใจหลกสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่าย ของเนื้อหาวิธีสอน  วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอนและ การประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
                       2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก 
                       3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอโดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพ จากสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้เป็น 4 ประเภท คือ วัสดุทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้ วัสดุท้องถิ่น 
                       4. จดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
                       5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้ลงมือกระทำได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีครูดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา
                        6.ฝึกให้เด็กไดคิดแก้ปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระในการคิดค้นคว้า หาเหตุผลด้วยตนเองให้มากที่สุด
                        7.จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
                        8.สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน   เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก 
                         9.จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์
       กิจกรรมในห้องเรียน
         อาจารย์มีตัวเลขมาให้ 5 ตัว ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์  ตัวเองมีดังนี้ 350 158 60 50 4915481 แล้วอาจารย์ก็ให้ทายว่าเป็นตัวเลขที่กี่ยวข้องกับอะไร   ซึ่งอาจารย์ยังอธิบายอีกว่าตัวเลขที่นำมาให้ทายนี้ถ้วนแต่เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเราในชีวิตประจำวัน เช่น ค่า จำนวน บ้านเลขที่ เวลา ส่วนสูง น้ำหนัก รหัสนักศึกษา เบอร์โทรศัพท์  เป็นต้น